วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
การดัดแต่งกิ่งไม้
การดัดแต่งกิ่งไม้
การปิดกระหม่อมทำหุ่นไม้ดัด
ลักษณะของไม้หุ่นที่มีรูปทรงเป็นลักษณะไม้หุ่นเดียว (ไม้วิชา) เมื่อนำมาปลูกและฟื้นตัวได้ดี มีกิ่งกระโดงแตกใหม่แล้วจะต้องทำการปิดกระหม่อม ลักษณะไม้ท่อนเดียวเมื่อเจริญเติบโตดีแล้วให้เลื่อยต้นตอ สูงจากพื้นดินพอเหมาะตามต้องการ ต่อมาจะเกิดกิ่งกระโดงแตกออกมาใต้บริเวณรอยตัด ถ้ากิ่งกระโดงแตกต่ำจากรอยตัดมากเกินไป ก็ให้ตัดหัวตอลดต่ำลง เมื่อกระโดงยาวได้ประมาณ 30 เซนติเมตร ก็ให้เริ่มทำการปิดกระหม่อมทำหุ่น โดยการค่อย ๆ กับหลักให้แน่น ปล่อยให้กิ่งกระโดงยาวออกไปเรื่อย ๆ แต่ต้องคอยริดยอดหรือให้กิ่งกระโดงโตเร็วขึ้น รอจนกว่ากิ่งกระโดงจะโตเชื่อมปิดกระหม่อมได้เรียบร้อยดีแล้ว ก็ให้ตัดกิ่งกระโดงออกเหลือไว้เท่าที่ต้องการเท่านั้น เพื่อใช้กิ่งกระโดงนี้เป็นหุ่นเลี้ยงกิ่งแยกต่อไป แต่ละหุ่นจะปล่อยให้แตกกิ่งแยกเท่าไรนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าจะทำไม้ตัดชนิด
วิธีการปลูกบอนไซ
]
การปลูกในกระถาง
การปลูกในกระถางมีขั้นตอนง่ายๆดังนี้
1.เตรียมกระถางที่ได้ขนาดพอเหมาะกับพันธุ์ที่เราต้องการปลูก ก่อนอื่นควรเลือกกระถางดินเผาชนิดที่ไม่เคลือบมัน ซึ่งจะช่วยให้กระถางแห้งง่ายไม่อมน้ำจนเกินไป แล้วปิดก้นกระถางที่เป็นรูระบายน้ำนั้นด้วยตะแกรงแบบเดียวกับกระถางเพาะเมล็ด และเอาดินหยาบๆและดินที่เป็นก้อนเล็กๆใส่ลงไปในกระถาง
ขนาดของกระถางจะต้องเลือกให้รับกับสภาพข้องราก,กิ่งก้านและความสูงข้องไม้ด้วย การบรรจุดินลงกระถางในขั้นแรกก็ควรให้มีความสูงของดินประมาณ1/4ของส่วนสูงข้องกระถาง ขั้นต่อไปจึงค่อยเอาดินละเอียดโรยหน้าอีกชั้นหนึ่งเพียงเล็กน้อย
2.แกะกระดาษหุ้มห่อรากไม้และหญ้าสะแฟกนุ่มหรือหญ้าที่หุ้มรากนั้นออกมาให้หมด ระวังอย่าเช็ดหรือล้างดินที่หุ้มรากนั้นออกมาเป็นอันขาด แล้วตัดรากที่ไม่สมบูรณ์หรือหักชำรุดออกเสียบ้าง
3.นำต้นไม้นั้นบรรจุลงในกระถางที่ใช้โรยดินหยาบไว้ก่อนแล้ว จึงค่อยเอาดินกลบโคนรากอีกชั้นหนึ่ง เคาะข้างๆกระถางเบาๆเพื่อให้ดินได้แทรกเข้าไปในช่องว่างตรงโคนรากของมัน
4.เอาดินกลบโคนรากของมันให้ท่วมราก แต่อย่าให้มากจนเกินไป มิฉะนั้นดินตอนบนจะสูงเกินปากขอบกระถาง ถ้าดินปากกระถางสูงกว่าขอบ เวลารดน้ำ น้ำจะพาดินตอนบนของมันหายไปหมด
5.ใช้นิ้วมือของคุณกดให้หน้าดินอัดตัวลงไปเบาๆ อย่ากดเเรงเกินไปมิฉะนั้นจะกระเทือนไปถึงรากเล็กๆของต้นไม้ ควรระวังให้มากในการกดดินที่ปากกระถาง
6.เอาหญ้าสะแฟกแผ่กระจากคลุมตอนผิวหน้าของดิน เพื่อป้องกันมิให้รากแห้ง
7.เมื่อทำการปลูกไม้ลงในกระถางเรียบร้อยเเล้ว ใช้เชือกเส้นเล็กๆมัดรอบปากกระถางแล้วผูกกับลำต้น เพื่อยึดมิให้ต้นแกว่งไปมาได้ เพราะไม้ที่ปลูกใหม่ๆ รากยังไม่จับกับดินใต้กระถางได้เพียงพอวิธีการตรึงนี้เป็นแบบญี่ปุ่นเรียกว่า "Tsuri-o-tory"หรือการทำให้สมดุลส่วนใหญ่จำเป็นมากในการใช้สำหรับปลูกต้นที่สูง บางทีอาจกินเวลานานถึง6เดือนกว่ารากจะเข้าที่
8.ขั้นตอบสุดท้ายคือรดน้ำให้ทั่วทั้งลำต้นและดินด้วย แต่ควรรดที่ดินก่อนแล้วจึงค่อยรดที่ต้น(รดจากยอด)ควรใช้ฝักบัว
*กระถางที่ปลูกใหม่ๆ จะต้องเลือกสถานที่ๆเหมาะกับการวางตั้งกระถาง ให้ได้รับแดดและร่มเงาพอสมควร ไม่ตั้งในที่แดดจัดเกินไปหรือควรมีร่มบังแดดแก่ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ควรตั้งในที่ๆมีลมเเรงจัดหรือแดดส่องทั้งวัน เพราะจะทำให้ดินแห้งเร็วและทำให้ไม้เหี่ยวแห้งอีกด้วย
การรดน้ำควรรดวันละ2ครั้ง คือเช้าเเละเย็น โดยใช้กระป๋ฮงรดแบบฝักบัว และอย่ารดให้ดินเปียกชุ่มมากเกินไป ในขั้นนี้เป็นเพียงขั้นหนึ่งที่เรียกว่า ขั้นรอวันคืนที่จะให้รากใหม่ของมันงอกงามออกมา

การดูแลรักษาบอนไซ
การดูแลบอนไซ
วิธีการบำรุงรักษาบอนไซในขั้นต้น ได้แก่
- ผู้ปลูกจะต้องรู้จักนิสัยของพันธุ์ไม้ที่จะปลูก โดยอาจจะถามจากผู้รู้ หรือศึกษาเองเสียก่อน ว่าไม้ชนิดไหนชอบสภาพอย่างไร เช่น ตะโกชอบอากาศร้อน ใช้ดินผสมกรวดทราย หรือดินผสมลูกรัง ควรให้ปุ๋ยเป็นประจำ เป็นต้น
การให้น้ำ
- แล้วแต่ลักษณะของกระถางที่ปลูก และลักษณะความต้องการของไม้บอนไซแต่ละพันธุ์ บอนไซที่มีลักษณะสวยงามนั้น จะมีกิ่งก้าน ลำต้น ใบที่สมบูรณ์ ควรปลูกเลี้ยงในที่กลางแจ้ง ได้รับแสงแดดเต็มที่ รดน้ำเช้าเย็นให้เปียกชุ่ม บอนไซบางชนิดต้องให้น้ำถึง 3-5 ครั้งต่อวัน แต่บางชนิดอาจจะให้เพียง 2 วันต่อครั้ง การรดน้ำใช้เพียงน้ำสะอาดธรรมดา เช่น น้ำคลอง น้ำฝน แต่ถ้าเป็นน้ำขุ่นควรทำให้ใสเสียก่อน น้ำฝนจะเป็นน้ำที่ใช้รดบอนไซได้ดีที่สุด แต่น้ำปะปา็ใช้ได้เหมือนกัน แต่ถ้ามีคลอรีนมากๆ ไม่ควรนำมาบอนไซทันที ควรที่จะพักน้ำไว้เสียก่อน
การให้ปุ๋ย
- บอนไซที่ปลูกเลี้ยงมีหลายชนิด หลายพันธุ์ บางชนิดชอบปุ๋ยที่แตกต่างกันออกไป ปุ๋ยมีความจำเป็นมากสำหรับบอนไซ ปุ๋ยที่นิยมสำหรับบอนไซ คือ ปุ๋ยคอก เป็นปุ๋ยที่ไม่เป็นอันตรายต่อบอนไซ ระยะเวลา 4-6 เดือนจึงให้ปุ๋ยต่อหนึ่งครั้ง
การพรวนดิน ควรพรวนเพาะหน้าดินเท่านั้น ปีละ 2 ครั้ง
การเปลี่ยนดิน ควรทำในช่วงที่ดินในกระถางค่อนข้างแห้ง อย่างแรกต้องหยุดรดน้ำ 2-3 วันก่อนแล้วเปลี่ยนดินได้เลย อย่าปล่อยให้ดินแห้งสนิท แล้วจึงเปลี่ยนดิน
การตัดแต่งราก ถ้ารากงอกออกเกินขอบกระถางจะทำให้บอนไซไม่งอกงาม ให้ทำการตัดแต่งรากพร้อมตอนที่จะเปลี่ยนดิน
พันไม้ที่นิยมนำมาทำเป็นบอนไซ
ตะโก Diospyros horsefieldii (Heirn)
เป็นไม้ยืนต้นเนื้อแข็งขนาดกลาง พบทั่วไปในป่าเบญจพรรณและป่าละเมาะ ลักษณะใบโต ดกหนาทึบ สีเขียวเข้ม ดอกสีเหลือง ผลมีลักษณะกลมคล้ายผลพลับ เมื่อดิบจะมียางมาก แต่เมื่อสุกจะมีสีเหลือง รับประทานได้ เปลือกแก่จะมีสีดำผิวหยาบขรุขระและมีรสฝาด เปลือกและผลอ่อนเป็นยาแก้ท้องร่วงและแก้อาการอาเจียน ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด นอกจากนี้ยังมีอีกหลายชนิดดังต่อไปนี้
ตะโกนา Diospyros rhodocalyx (Kurz) (ตะโกนา มะโก มะถ่านไฟผี)
- ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 15 เมตร เปลือกดำและแตกเป็นสะเก็ดหนาๆ กระพี้ขาว
- ใบ ใบเดี่ยวออกเรียงสลับรูปไข่กลับ รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนกลายๆ และรูปป้อม กว้าง 2.5-7 ซม. ขาว 3-12 ซม. โคนใบสอบเป็นรูปลิ่มบางทีก็ป้องหรือป้านปลายใบโค้งมน ป้านหยักเว้าเข้าหรือหยักขอดเป็นติ่งสั้นๆ เนื้อในบาง บางทีก็ค่อนข้างหนา ด้านบนเกลี้ยงด้านล่างตอนแรกๆ พอมีขนนุ่มบ้าง เส้นแขนงใบมี 5-8 คู่ เส้นอ่อนคดไปมาพอมองเห็นได้ทางด้านหลังใบและขึ้นเด่นชัดทางท้องใบ เส้นร่างแหพอสังเกตเห็นได้ทั้งสองด้าน เส้นกลางใบมักออกสีแดงเรื่อๆ เวลาใบแห้ง ก้านใบยาว 2-7 มมง แรกๆ มีขนนุ่ม
- ดอก ดอกเป็นช่อดอกเพศผู้และเมีอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อเล็กๆ ช่อหนึ่งมีประมาณ 3 ดอก ตามง่ามใบ ทั้งกลีบดอกและกลีบรองดอกมีอย่างละ 4 กลีบ ก้านดอกยาว 1-2 มม.
- มีขนนุ่มกลีบรองดอกยาว 3-4 มม. โคนกลบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยปากกว้างด้านนอกมีขนนุ่ม ข้างในมีขนยาวๆ แน่น กลีบดอกยาว 8-12 มม. เชื่อมติดกันเป็นรูปเหยือกน้ำหรือรูปป้องๆ ปลายแยกออกเป็นแฉกเล็กๆ เกลี้ยงเกลาทั้งสองด้าน มีเกสรตัวผุ้ 14-16 อัน มีขนแข็งๆ แซมรังไข่เทียมมีขนแน่น ดอกเพศเมียออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ ทั้งกลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกมีอย่างละ 4 กลีบ ก้านดอกยาว 2-3 มม. มีขนนุ่มกลีบรองกลีบดอกและกลีบดอกมีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้แต่มีขนาดใหญ่กว่า รังไข่ป้อมมีขนเป็นเส้นไหมคลุมภายในแบ่งเป็น 4 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อนหนึ่งหน่วย หลอดท่อรังไข่มีหลอดเดียวมีขนแน่น ปลายหลอดแยกเป็นสองแฉก เกสรตัวผู้เทียมมี 8-10 อัน มีขนแข็งๆ แซม
- ผล กลมมีขนาด 1.5-2.5 ซม. ผลอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงคลุม ขนเหล่านี้หลุดร่วงงายโคนและปลายผลมักบุ๋ม กลีบจุกผลชี้ออกหรือแนบลู่ไปตามผิวผล ข้างในมีขนสีน้ำตาลแดงและมีขนนุ่มทางด้านนอกฟื้นกลีบจบและขอบกลีบมักเป็น คลื่น เส้นลายกลีบพอสังเกตเห็นได้ชัด ก้านผลสั้นมาก 2-3 มม. เมล็ดถ้าตัดตามขวางจะเห็นว่าระหว่างเปลือกนอกกับเนื้อขาวๆ ข้างในไม่เรียบ
ตะโกสวน Diospyros peregrina (Gurke)
ไม้ยืนต้น สูงประมาณ 8 - 15 เมตร เปลือกต้นสีเทาปนดำ ทรงพุ่มกลมทึบ การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบสลับ ใบเป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนาน ขนาดประมาณ 4.00 x 8.00 เซนติเมตร ปลายแหลมมนและโคนใบมน ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ดอกขนาดเล็กสีขาวนวลรูปคณโฑคว่ำ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3.50 เซนติเมตร ผลสุกสีส้มเหลือง เมล็ดมี 8 เมล็ด สีน้ำตาลดำทรงรีแป้น ขนาดประมาณ 1.00 x 2.00 เซนติเมตร
ตะโกพนม Diospyros castaneae (Fletcher)(ชาติตะโก)
ตะโกพนมเป็นไม้ยืนต้นขนนาดเล็กถึงขนาด กลาง สูงถึง 15 เมตร เปลือกแตกเป็นสะเก็ด สีเทาปนดำ หรือค่อนข้างดำเปลือกในสีน้ำตาล แก่นสีน้ำตาลเข้ม ตามกิ่งมีขนดนุ่มทั่วไป ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงกันแบบสลับ ใบรูปไข่ มน หรือป้อม กว้าง 2.5-8 ซม. ยาว 6-13 ซม. โคนใบป้าน ตรง หรือเว้าเข้าเล็กน้อย ปลายใบนมสอบแคบ บางทีหยักเป็นลอนกว้างๆ เนื้อใบค่อนข้างหนา และเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นแขนงใใบมี 6-10 คู่ และเส้นจะคด ไปมา และเป็นร่องทางด้านบน ด้านล่างเส้นนูนชัด ก้านยาว 4-10 มม. เกลี้ยง ดอกเป็นดอกช่อ หรือดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ มีการแยกเพศของดอก ดอกเพศผู้ ออกเป็นช่อสั้นๆ กลีบรองดอก 3 กลีบ ยาว 3-5 มม.โคเชื่อมติดกันเป็นรูปลำเทียน ปลายแยกเป็น 3 หยัก ด้านนอกมีขน ด้านในเกลี้ยง ด้านในเกลี้ยง กลีบดอก 3 กลีบ รูปขอบขนาน แคบ ยาว 10-12 มม. ครึ่งล่าง เชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ครึ่งบนแยกเป็น 3 กลีบ ส่วนที่แยกเป็น กลีบมีขนทั้ง 2 ด้าน แต่ส่วนที่ติดกันเกลี้ยงทั้งสองด้าน เกสรผู้มี 12-14 อัน เกลี้ยง รังไข่ฝ่อเกลี้ยง ดอกเพศเมีย � ส่วนมากเป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกยาว 2-3 ซม. เกลี้ยง กลีบรองกลีบดอก และกลีบดอกเหมือนกับดอกเพศผู้ รังไข่รูปป้อม มีขนคลุม รูปมน หรือกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 ซม. ผิวหนา แข็ง เกลี้ยง หรือ มีขนนุ่มใกล้โคน เกิดตามป่าเต็งรังทั่วไป ขนายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ตะโกหนู Diospyros sp.
เกิดจากตอที่ตายแล้วมีการแตกกิ่งก้านขึ้นใหม่เมื่อได้รับสภาพแวดล้อมที่พอเหมาะ เพราะไม้พันธุ์นี้ที่ขุดได้จากป่านั้นจะเกิดจากรากเดิมทั้งสิ้น ลักษณะใบก็แตกต่างกันไปถึง 3 แบบ ชนิดแรกใบมีลักษณะคล้ายใบมะขามแต่โตและยาวกว่าใบมะขามเล็กน้อย ใบบิดและออกสลับตามข้อ สีเขียวเข้ม โตช้ามาก พบแถวจังหวัดราชบุรีและเพชรบุรี ชนิดที่สองใบโตกว่าชนิดแรก ลักษระบิด ยาวประมาณ 1-2 เซ็นติเมตร ออกไม่
มะสัง Feroniella lucida (Swingle)
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบคล้ายใบคนทาหรือใบมะขวิดแต่เล็กกว่า แตกช่อเป็นพุ่มแน่นสีเขียวเป็นมัน มีหนามแหลมยาวตามกิ่งก้าน เปลือกขรุขระ ต้นที่อายุมากๆ เปลือกจะแตกเป็นลายสวยงามมาก ผลรูปกลมขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยงหรืออาจเล็กกว่าเล็กน้อย เปลือกหนา เนื้อรับประทานได้ พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชอบขึ้นในดินปนทราย ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
ข่อย Sterblus asper (Lour)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบค่อนข้างโต ขอบใบหยัก ใบมีผิวหยาบและสาก เนื้อไม้มีสีขาวอ่อน ดอกมีขนาดเล็กสีขาวออกเป็นช่อ ผลลักษณะกลม ขนาดเท่าเมล็ดพริกไทย เมื่อสุกจะมีสีเหลือง เป็นไม้ที่มีประโยชน์มาก สมัยโบราณใช้เนื้อไม้ทำกระดาษเนื่องจากมีสีขาวและใช้กิ่งทำความสะอาดฟัน ใบสดใช้ปิ้งไฟให้เหลืองกรอบชงกับน้ำใช้ดื่มช่วยการระบายท้อง ข่อยเป็นไม้ที่ค่อนข้างอ่อนแอ อาจพาลตายเอาง่ายๆ เมื่อได้รับความกระทบกระเทือนจากการขุดย้าย ข่อยขยายพันธุ์ได้ด้วยการตอนกิ่งและเพาะเมล็ด
ไกร Ficus virens var. glabella (Ait)
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลักษณะใบรูปเรียวยาวปลายแหลมคล้ายใบหอก ยาวประมาณ 7-10 เซ็นติเมตร มีทั้งชนิดปลายแหลมมากและแหลมน้อย ใบอ่อนมีสีแดงปนชมพูหรือปนน้ำตาลสวยงามมาก เปลือกไม้และกิ่งที่มีอายุน้อยมีสีน้ำตาล แต่เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนเทา ต้นที่สมบูรณ์เมื่อได้รับสภาพแวดล้อมที่พอเหมาะจะมีร
ไทรย้อยใบแหลม Ficus benjamina (Linn.)
ไทรย้อยใบแหลมเป็นไม้ต้น และไม้พุ่มขนาดกลาง สูงได้ถึง 10 เมตร ต้นแตกเป็นพุ่มหนาทึบแผ่กิ่งก้านสาขาทิ้งใบห้อยย้อย ไทรมีรากอากาศ ต้นแตกย้อยลงสู่พื้นดินเป็นจำนวนมาก น้ำยาง สีขาว ใบ เดี่ยว เรียบเป็นมัน เรียงสลับรูปวงรี รูปใบหอกหรือรูปไข่แกมวงรี มีก้านใบที่อ่อน ใบจะห้อยระย้างามมาก สีเขียว ดอกช่อ รูปค่อนข้างกลม รูปไข่ เมื่อสุกสีเหลือง ส้ม และแดงเข้ม ตามลำดับ การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือปักชำกิ่ง ประโยชน์ ผล เป็นอาหารของนก และสัตว์ป่า รากอากาศเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ บำรุงน้ำนม ถิ่นกำเนิด ทวีปเอเชีย ชอบแสงแดดจ้า ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง เป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง
ไทรย้อยใบทู่ Ficus retusa (Linn.)

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ชอบขึ้นบริเวณชายน้ำหรือริมน้ำเหมือนไทรใบแหลม แผ่กิ่งก้านสาขาเป็นพุ่ม รูปทรงต้นสวยงาม ใบมีลักษณะกลมหนาเป็นมัน ปลายใบค่อนข้างทู่ มีรากอากาศห้อยย้อยอยู่ตามกิ่งลงมาจนถึงดิน ผลขนาดเล็กเท่าไทรย้อยใบแหลม สีเหลือง ออกตามข้อของกิ่ง การเติบโตค่อนข้างเร็ว นิยมใช้ทำไม้เกาะหิน ขยายพันธุ์โดยการตอน ปักชำกิ่ง และเพาะเมล็ด
โพธิ์ Ficus religiosa (Linn.)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ที่นำมาทำไม้แคระมักเป็นโพธิ์ที่เรียกว่าโพธิ์ป่า ชอบขึ้นตามป่าเบญจพรรณและป่าละเมาะทั่วไป ไม่เห็นมีใครไปเอาต้นโพธิ์ตามวัดมาเลี้ยง คงจะเป็นเพราะคนไทยถือไม่เอาของวัดเข้าบ้าน ลักษณะลำต้นมีสีขาวนวล ใบหนา ขอบใบค่อนข้างเรียบ ปลายใบไม่แหลมมาก ผลมีขนาดเล็กพอกับผลไทร ลักษณะกลม สีเหลือง ออกผลตามกิ่งก้าน มีเกษรเล็กๆ อยู่ภายใน โพธิ์อาจมีรากอากาศได้หากอยู่ในที่ซึ่งมีสภาพแวดล้อมเหมาะสม ขยายพันธุ์โดยการตอน ปักชำกิ่ง และเพาะเมล็ด
วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
1.ความเป็นมาของบอนไซ
ความเป็นมาของบอนไซ
คำว่า “บอนไซ”เป็นคำทับศัพท์ในภาษาญี่ปุ่น แปลเป็นไทยว่า ไม้แคระ มีตำนานความเป็นมาดังนี้ (ชาง ตันสกุล : 2534, 7-8) บอนไซ ได้ถูกพัฒนาจากการปลูกไม้ในกระถางของคนจีนโบราณ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิ้น ราวปี พ.ศ. 808-963 โดยตู หยวน-หมิง จินตกวีผู้หันหลังให้กับราชสำนัก มุ่งสู่ชนบทริเริ่มปลูกต้นไม้ไม้ดอกลงในกระถาง เป็นผู้บุกเบิกบอนไซเป็นท่านแรกก็ว่าได้ต่อมาในราชวงศ์ถัง ต่อกับราชวงศ์ซ้อง ระหว่างปี พ.ศ. 1161-1823 ได้เรียกไม้ย่อส่วนที่ปลูกในกระถางว่า “เผิน-วัน”ต่อมาได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ซึ่งรู้จักกันในนามว่า “เผิน ชิง” หรือไม้กระถางประดับด้วยทิวทัศน์นั่นเองในช่วง คังซี ฮ่องเต้ ถึงสมัย เจีย-ชิง ฮ่องเต้ (ระหว่าง พ.ศ.2205-2264) มีผู้นิยมเล่นบอนไซกันมากในประเทศจีน ซึ่งในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ประเทศจีนรุ่งเรืองมาก ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างสงบสุข ต่างใช้เวลาว่างมาศึกษาการเล่นบอนไซเป็นงานอดิเรกกันมาก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)