วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พันไม้ที่นิยมนำมาทำเป็นบอนไซ







ตะโก Diospyros horsefieldii (Heirn)

 เป็นไม้ยืนต้นเนื้อแข็งขนาดกลาง พบทั่วไปในป่าเบญจพรรณและป่าละเมาะ ลักษณะใบโต ดกหนาทึบ สีเขียวเข้ม ดอกสีเหลือง ผลมีลักษณะกลมคล้ายผลพลับ เมื่อดิบจะมียางมาก แต่เมื่อสุกจะมีสีเหลือง รับประทานได้ เปลือกแก่จะมีสีดำผิวหยาบขรุขระและมีรสฝาด เปลือกและผลอ่อนเป็นยาแก้ท้องร่วงและแก้อาการอาเจียน ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด นอกจากนี้ยังมีอีกหลายชนิดดังต่อไปนี้

ตะโกนา Diospyros rhodocalyx (Kurz) (ตะโกนา มะโก มะถ่านไฟผี)


ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 15 เมตร เปลือกดำและแตกเป็นสะเก็ดหนาๆ กระพี้ขาว
ใบ ใบเดี่ยวออกเรียงสลับรูปไข่กลับ รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนกลายๆ และรูปป้อม กว้าง 2.5-7 ซม. ขาว 3-12 ซม. โคนใบสอบเป็นรูปลิ่มบางทีก็ป้องหรือป้านปลายใบโค้งมน ป้านหยักเว้าเข้าหรือหยักขอดเป็นติ่งสั้นๆ เนื้อในบาง บางทีก็ค่อนข้างหนา ด้านบนเกลี้ยงด้านล่างตอนแรกๆ พอมีขนนุ่มบ้าง เส้นแขนงใบมี 5-8 คู่ เส้นอ่อนคดไปมาพอมองเห็นได้ทางด้านหลังใบและขึ้นเด่นชัดทางท้องใบ เส้นร่างแหพอสังเกตเห็นได้ทั้งสองด้าน เส้นกลางใบมักออกสีแดงเรื่อๆ เวลาใบแห้ง ก้านใบยาว 2-7 มมง แรกๆ มีขนนุ่ม
ดอก ดอกเป็นช่อดอกเพศผู้และเมีอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อเล็กๆ ช่อหนึ่งมีประมาณ 3 ดอก ตามง่ามใบ ทั้งกลีบดอกและกลีบรองดอกมีอย่างละ 4 กลีบ ก้านดอกยาว 1-2 มม.
มีขนนุ่มกลีบรองดอกยาว 3-4 มม. โคนกลบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยปากกว้างด้านนอกมีขนนุ่ม ข้างในมีขนยาวๆ แน่น กลีบดอกยาว 8-12 มม. เชื่อมติดกันเป็นรูปเหยือกน้ำหรือรูปป้องๆ ปลายแยกออกเป็นแฉกเล็กๆ เกลี้ยงเกลาทั้งสองด้าน มีเกสรตัวผุ้ 14-16 อัน มีขนแข็งๆ แซมรังไข่เทียมมีขนแน่น ดอกเพศเมียออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ ทั้งกลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกมีอย่างละ 4 กลีบ ก้านดอกยาว 2-3 มม. มีขนนุ่มกลีบรองกลีบดอกและกลีบดอกมีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้แต่มีขนาดใหญ่กว่า รังไข่ป้อมมีขนเป็นเส้นไหมคลุมภายในแบ่งเป็น 4 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อนหนึ่งหน่วย หลอดท่อรังไข่มีหลอดเดียวมีขนแน่น ปลายหลอดแยกเป็นสองแฉก เกสรตัวผู้เทียมมี 8-10 อัน มีขนแข็งๆ แซม
ผล กลมมีขนาด 1.5-2.5 ซม. ผลอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงคลุม ขนเหล่านี้หลุดร่วงงายโคนและปลายผลมักบุ๋ม กลีบจุกผลชี้ออกหรือแนบลู่ไปตามผิวผล ข้างในมีขนสีน้ำตาลแดงและมีขนนุ่มทางด้านนอกฟื้นกลีบจบและขอบกลีบมักเป็น คลื่น เส้นลายกลีบพอสังเกตเห็นได้ชัด ก้านผลสั้นมาก 2-3 มม. เมล็ดถ้าตัดตามขวางจะเห็นว่าระหว่างเปลือกนอกกับเนื้อขาวๆ ข้างในไม่เรียบ


ตะโกสวน Diospyros peregrina (Gurke)

    ไม้ยืนต้น สูงประมาณ 8 - 15 เมตร เปลือกต้นสีเทาปนดำ ทรงพุ่มกลมทึบ การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบสลับ ใบเป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนาน ขนาดประมาณ 4.00 x 8.00 เซนติเมตร ปลายแหลมมนและโคนใบมน ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ดอกขนาดเล็กสีขาวนวลรูปคณโฑคว่ำ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3.50 เซนติเมตร ผลสุกสีส้มเหลือง เมล็ดมี 8 เมล็ด สีน้ำตาลดำทรงรีแป้น ขนาดประมาณ 1.00 x 2.00 เซนติเมตร

ตะโกพนม Diospyros castaneae (Fletcher)(ชาติตะโก)

   ตะโกพนมเป็นไม้ยืนต้นขนนาดเล็กถึงขนาด กลาง สูงถึง 15 เมตร เปลือกแตกเป็นสะเก็ด สีเทาปนดำ หรือค่อนข้างดำเปลือกในสีน้ำตาล แก่นสีน้ำตาลเข้ม ตามกิ่งมีขนดนุ่มทั่วไป ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงกันแบบสลับ ใบรูปไข่ มน หรือป้อม กว้าง 2.5-8 ซม. ยาว 6-13 ซม. โคนใบป้าน ตรง หรือเว้าเข้าเล็กน้อย ปลายใบนมสอบแคบ บางทีหยักเป็นลอนกว้างๆ เนื้อใบค่อนข้างหนา และเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นแขนงใใบมี 6-10 คู่ และเส้นจะคด ไปมา และเป็นร่องทางด้านบน ด้านล่างเส้นนูนชัด ก้านยาว 4-10 มม. เกลี้ยง ดอกเป็นดอกช่อ หรือดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ มีการแยกเพศของดอก ดอกเพศผู้ ออกเป็นช่อสั้นๆ กลีบรองดอก 3 กลีบ ยาว 3-5 มม.โคเชื่อมติดกันเป็นรูปลำเทียน ปลายแยกเป็น 3 หยัก ด้านนอกมีขน ด้านในเกลี้ยง ด้านในเกลี้ยง กลีบดอก 3 กลีบ รูปขอบขนาน แคบ ยาว 10-12 มม. ครึ่งล่าง เชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ครึ่งบนแยกเป็น 3 กลีบ ส่วนที่แยกเป็น กลีบมีขนทั้ง 2 ด้าน แต่ส่วนที่ติดกันเกลี้ยงทั้งสองด้าน เกสรผู้มี 12-14 อัน เกลี้ยง รังไข่ฝ่อเกลี้ยง ดอกเพศเมีย � ส่วนมากเป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกยาว 2-3 ซม. เกลี้ยง กลีบรองกลีบดอก และกลีบดอกเหมือนกับดอกเพศผู้ รังไข่รูปป้อม มีขนคลุม รูปมน หรือกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 ซม. ผิวหนา แข็ง เกลี้ยง หรือ มีขนนุ่มใกล้โคน เกิดตามป่าเต็งรังทั่วไป ขนายพันธุ์ด้วยเมล็ด


ตะโกหนู Diospyros sp.

  เกิดจากตอที่ตายแล้วมีการแตกกิ่งก้านขึ้นใหม่เมื่อได้รับสภาพแวดล้อมที่พอเหมาะ เพราะไม้พันธุ์นี้ที่ขุดได้จากป่านั้นจะเกิดจากรากเดิมทั้งสิ้น ลักษณะใบก็แตกต่างกันไปถึง 3 แบบ ชนิดแรกใบมีลักษณะคล้ายใบมะขามแต่โตและยาวกว่าใบมะขามเล็กน้อย ใบบิดและออกสลับตามข้อ สีเขียวเข้ม โตช้ามาก พบแถวจังหวัดราชบุรีและเพชรบุรี ชนิดที่สองใบโตกว่าชนิดแรก ลักษระบิด ยาวประมาณ 1-2 เซ็นติเมตร ออกไม่

มะสัง Feroniella lucida (Swingle)



 ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบคล้ายใบคนทาหรือใบมะขวิดแต่เล็กกว่า แตกช่อเป็นพุ่มแน่นสีเขียวเป็นมัน มีหนามแหลมยาวตามกิ่งก้าน เปลือกขรุขระ ต้นที่อายุมากๆ เปลือกจะแตกเป็นลายสวยงามมาก ผลรูปกลมขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยงหรืออาจเล็กกว่าเล็กน้อย เปลือกหนา เนื้อรับประทานได้ พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชอบขึ้นในดินปนทราย ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
ข่อย Sterblus asper (Lour)


 เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบค่อนข้างโต ขอบใบหยัก ใบมีผิวหยาบและสาก เนื้อไม้มีสีขาวอ่อน ดอกมีขนาดเล็กสีขาวออกเป็นช่อ ผลลักษณะกลม ขนาดเท่าเมล็ดพริกไทย เมื่อสุกจะมีสีเหลือง เป็นไม้ที่มีประโยชน์มาก สมัยโบราณใช้เนื้อไม้ทำกระดาษเนื่องจากมีสีขาวและใช้กิ่งทำความสะอาดฟัน ใบสดใช้ปิ้งไฟให้เหลืองกรอบชงกับน้ำใช้ดื่มช่วยการระบายท้อง ข่อยเป็นไม้ที่ค่อนข้างอ่อนแอ อาจพาลตายเอาง่ายๆ เมื่อได้รับความกระทบกระเทือนจากการขุดย้าย ข่อยขยายพันธุ์ได้ด้วยการตอนกิ่งและเพาะเมล็ด

ไกร Ficus virens var. glabella (Ait)


 ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลักษณะใบรูปเรียวยาวปลายแหลมคล้ายใบหอก ยาวประมาณ 7-10 เซ็นติเมตร มีทั้งชนิดปลายแหลมมากและแหลมน้อย ใบอ่อนมีสีแดงปนชมพูหรือปนน้ำตาลสวยงามมาก เปลือกไม้และกิ่งที่มีอายุน้อยมีสีน้ำตาล แต่เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนเทา ต้นที่สมบูรณ์เมื่อได้รับสภาพแวดล้อมที่พอเหมาะจะมีร

ไทรย้อยใบแหลม Ficus benjamina (Linn.)


 ไทรย้อยใบแหลมเป็นไม้ต้น และไม้พุ่มขนาดกลาง  สูงได้ถึง 10 เมตร ต้นแตกเป็นพุ่มหนาทึบแผ่กิ่งก้านสาขาทิ้งใบห้อยย้อย  ไทรมีรากอากาศ ต้นแตกย้อยลงสู่พื้นดินเป็นจำนวนมาก  น้ำยาง สีขาว ใบ เดี่ยว เรียบเป็นมัน  เรียงสลับรูปวงรี  รูปใบหอกหรือรูปไข่แกมวงรี มีก้านใบที่อ่อน ใบจะห้อยระย้างามมาก สีเขียว     ดอกช่อ  รูปค่อนข้างกลม  รูปไข่  เมื่อสุกสีเหลือง  ส้ม  และแดงเข้ม ตามลำดับ  การขยายพันธุ์    เพาะเมล็ด  ตอนกิ่ง  หรือปักชำกิ่ง   ประโยชน์  ผล เป็นอาหารของนก และสัตว์ป่า  รากอากาศเป็นยาขับปัสสาวะ   แก้ไตพิการ  บำรุงน้ำนม  ถิ่นกำเนิด ทวีปเอเชีย  ชอบแสงแดดจ้า ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง เป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง



ไทรย้อยใบทู่ Ficus retusa (Linn.)


 เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ชอบขึ้นบริเวณชายน้ำหรือริมน้ำเหมือนไทรใบแหลม แผ่กิ่งก้านสาขาเป็นพุ่ม รูปทรงต้นสวยงาม ใบมีลักษณะกลมหนาเป็นมัน ปลายใบค่อนข้างทู่ มีรากอากาศห้อยย้อยอยู่ตามกิ่งลงมาจนถึงดิน ผลขนาดเล็กเท่าไทรย้อยใบแหลม สีเหลือง ออกตามข้อของกิ่ง การเติบโตค่อนข้างเร็ว นิยมใช้ทำไม้เกาะหิน ขยายพันธุ์โดยการตอน ปักชำกิ่ง และเพาะเมล็ด
โพธิ์ Ficus religiosa (Linn.)

 เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ที่นำมาทำไม้แคระมักเป็นโพธิ์ที่เรียกว่าโพธิ์ป่า ชอบขึ้นตามป่าเบญจพรรณและป่าละเมาะทั่วไป ไม่เห็นมีใครไปเอาต้นโพธิ์ตามวัดมาเลี้ยง คงจะเป็นเพราะคนไทยถือไม่เอาของวัดเข้าบ้าน ลักษณะลำต้นมีสีขาวนวล ใบหนา ขอบใบค่อนข้างเรียบ ปลายใบไม่แหลมมาก ผลมีขนาดเล็กพอกับผลไทร ลักษณะกลม สีเหลือง ออกผลตามกิ่งก้าน มีเกษรเล็กๆ อยู่ภายใน โพธิ์อาจมีรากอากาศได้หากอยู่ในที่ซึ่งมีสภาพแวดล้อมเหมาะสม ขยายพันธุ์โดยการตอน ปักชำกิ่ง และเพาะเมล็ด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น